ชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย : หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมอาหาร
ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Science Program in Food Technology and Innovation
ชื่อปริญญา
ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) : วิทยาศาสตรบัณฑิต (เทคโนโลยีและนวัตกรรมอาหาร)
ชื่อย่อ (ภาษาไทย) : วท.บ. (เทคโนโลยีและนวัตกรรมอาหาร)
ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ) : Bachelor of Science (Food Technology and Innovation)
ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ) : B.Sc. (Food Technology and Innovation
ปรัชญา
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมอาหาร (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560) มุ่งผลิตบัณฑิตที่มีความรู้และทักษะด้านเทคโนโลยีอาหาร เพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมในการยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนสู่อุตสาหกรรมอาหารที่สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลกอันประกอบด้วยสังคมที่หลากหลายและเปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์ โดยคำนึงถึงจรรยาบรรณทางวิชาชีพ
วัตถุประสงค์
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมอาหาร (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2561) มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณสมบัติดังนี้
- มีความรู้และประสบการณ์การเรียนรู้ สามารถปฏิบัติงานด้านเทคโนโลยีการอาหารได้อย่างเหมาะสม โดยสามารถประยุกต์ใช้ความรู้เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารในเชิงอุตสาหกรรมได้อย่างเหมาะสม รวมทั้งสามารถสื่อสารและถ่ายทอดองค์ความรู้ได้
- มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์และริเริ่มสร้างสรรค์ โดยใช้ความรู้และประสบการณ์ในด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมอาหาร ในการแก้ปัญหาการทำงานได้ และสร้างสรรค์พัฒนาผลิตภัณฑ์
- มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และสารสนเทศในการสื่อสาร การแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง รวมทั้งตีความ และประเมินสารสนเทศ การจัดเก็บและประมวลผลข้อมูลและการนำเสนอข้อมูลสารสนเทศ เพื่อใช้ในการพัฒนาความรู้และการแก้ปัญหาทางวิชาการได้อย่างสร้างสรรค์และเพื่อประโยชน์ในการศึกษาในสาขาวิชาการ/วิชาชีพได้
- มีความสามารถในการใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์หรือคณิตศาสตร์หรือกระบวนการวิจัยในการคิดวิเคราะห์หรือแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันและในการปฏิบัติงานในสาขาวิชาชีพได้
- เป็นผู้ใฝ่รู้เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของตนเองมีความรู้ความเข้าใจในพัฒนาการใหม่ๆ ในสาขาวิชา
- มีเจตคติที่ดีต่อวิชาชีพ มีคุณธรรม จริยธรรม มีจรรยาบรรณทางวิชาการ/วิชาชีพ โดยตระหนักในธรรมเนียมปฏิบัติ กฎระเบียบ ข้อบังคับในสาขาวิชาชีพ
- มีทักษะความพร้อมด้านสังคม มีความเข้าใจในความแตกต่างหลากหลายทางสังคมและวัฒนธรรม สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดี รวมทั้งมีภาวะผู้นำ มีความคิดริเริ่มในการวิเคราะห์ปัญหาได้อย่างเหมาะสมบนพื้นฐานของตนเองและของกลุ่ม
- มีวินัย ซื่อสัตย์ และรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม รวมทั้งมีจิตสาธารณะ รักและภาคภูมิใจในท้องถิ่น สถาบัน และประเทศชาติ
การวัดผลและการสำเร็จการศึกษา
- เป็นไปตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ.2558 และ
- เป็นไปตามระเบียบมหาวิทยาลัยขอนแก่น ว่าด้วย การศึกษาขั้นปริญญาตรี พ.ศ. 2562 หมวดที่ 9 ข้อ 31 หรือระเบียบที่จะปรับปรุงใหม่
- สอบผ่านเกณฑ์การสอบวัดความรู้ความสามารถทางคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีขั้นพื้นฐาน สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี ตามประกาศของมหาวิทยาลัย
- เข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการครบตามเกณฑ์ที่กำหนด ตามประกาศของมหาวิทยาลัย
- สำหรับนักศึกษาแผนที่ 1 (แผนฝึกปฏิบัติ) ต้องผ่านการฝึกงานในสถานประกอบการที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์อาหารที่สาขาฯเห็นสมควรอย่างน้อย 1 สถานประกอบการ มีระยะเวลารวมไม่น้อยกว่า 200 ชั่วโมงและไม่น้อยกว่า 7 สัปดาห์ โดยมีสถานะเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 3 ขึ้นไป กรณีไม่สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร กำหนดให้ได้รับอนุปริญญา ซึ่งเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในประกาศของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ว่าด้วย การศึกษาขั้นปริญญาตรี พ.ศ. 2562 หมวดที่ 10 ข้อ 36 หรือระเบียบที่จะปรับปรุงใหม่
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
- สามารถทำงานในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับด้านโภชนาการ ด้านการวิจัยและพัฒนาสินค้าทางอาหารและการเกษตร ด้านการแปรรูปสินค้าอาหารและสินค้าเกษตร ด้านการกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อาหารและผลิตภัณฑ์แปรรูปทางการเกษตร สำหรับภาคเอกชนสามารถทำงานทางอุตสาหกรรมอาหาร ได้แก่ ฝ่ายผลิต ฝ่ายควบคุมคุณภาพหรือประกันคุณภาพ ฝ่ายวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ฝ่ายการสุขาภิบาลโรงงานและความปลอดภัยของอาหาร
รายละเอียดเพิ่มเติม